เพนิซิลลิน
  
คำแปล

คำนาม. ยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย เพนิซิลลินเป็นยาปฏิชีวนะตัวแรกที่ถูกค้นพบในโลก เดิมที่ยานี้ได้มาจากสารที่ผลิตโดยเชื้อราเพนิซิลเลี่ยมที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

 

“เพนิซิลลินถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2472 และเริ่มมีการนำมาใช้แพร่หลายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ยานี้มีผลกระทบอย่างมหาศาลและช่วยชีวิตผู้ป่วยมากมายทั่วโลก” 

 

“เชื้อหนองในเคยเป็นเชื้อที่มีความไวต่อยาเพนิซิลลิน เชื้อสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี่ ที่ก่อโรคปอดติดเชื้อ และเชื้อสแตฟฟิโลคอกคัสออเรียสที่ก่อโรคติดเชื้อในกระแสเลือดต่างก็เคยมีความไวต่อยาเพนิซิลลิน ในปัจจุบันเชื้อเหล่านี้ดื้อต่อยาเพนิซิลลินแล้วทั้งนั้น”

 

“เพนนิซิลลินอาจสามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านค้า ที่อันตรายก็คือ คนที่ไม่ใส่ใจ ไปหายานี้มารับประทาน และรับประทานในปริมาณที่ต่ำกว่าที่ควร ทำให้เชื้อโรคในร่างกายสัมผัสกับยาในปริมาณที่ไม่สามารถกำจัดเชื้อได้ และเป็นสาเหตุให้เกิดเชื้อดื้อยา”[1]

คลังการเรียนรู้

การค้นพบเพนิซิลลิน

 

หากคุณเกิดก่อนปี พ.ศ. 2472 คุณอาจจะเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อ เช่นโรควัณโรคและโรคปอดติดเชื้อ (หรือที่คนไทยเรียกว่า “ปอดบวม”) ได้ง่ายๆ อีกทั้งรอยขีดข่วน บาดแผล การถอนฟัน หรือ การคลอดบุตร ก็อาจมีการติดเชื้อแทรกซ้อน จนเสียชีวิตได้ง่ายๆ อีกเช่นกัน

 

โชคดีที่ ในปี พ.ศ. 2472 อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง ได้ค้นพบยาปฏิชีวนะตัวแรกโดยบังเอิญจากเชื้อราสีน้ำเงินที่มีชื่อว่าเพนิซิลเลี่ยมที่ปนเปื้อนในการทดลองเกี่ยวกับแบคทีเรียของเขา เมื่อสังเกตอย่างใกล้ชิดจึงพบว่าสารเหลวจากเชื้อราเหล่านี้ได้ฆ่าแบคทีเรียที่เขาเลี้ยงไว้ ยาปฏิชีวนะที่ถูกค้นพบนี้ถูกเรียกว่า เพนิซิลลิน  

 

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เพนิซิลลินได้เปลี่ยนวิธีที่บุคลากรทางการแพทย์ใช้รักษาการเจ็บป่วยและบาดแผลในสงคราม ผลที่ได้คือจำนวนทหารที่เสียชีวิตจากการติดเชื้อลดลงเหลือเพียง 1% เมื่อเทียบกับ 18% ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง   

 

เฟลมมิ่งได้รับรางวัลโนเบลในปี พ.ศ. 2497 จากการค้นพบยาเพนิซิลลิน หรือ ‘ยามหัศจรรย์’ อย่างไรก็ดี เฟลมมิ่งได้เตือนประชาชนถึงการใช้เพนิซิลลินอย่างไม่ถูกต้อง โดยกล่าวว่า “จุลชีพสามารถเรียนรู้ที่จะดื้อต่อยาเพนิซิลลิน  และเชื้อที่ดื้อยาเพนิซิลลินสามารถขยายจำนวนและแพร่ต่อไปยังบุคคลอื่นๆ และส่งต่อไปเรื่อยๆ และไปก่อโรค ทำให้คนอื่นป่วยด้วยการติดเชื้อในกระแสเลือดหรือปอดติดเชื้อ ซึ่งยาเพนิซิลลินจะใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไปในกรณีดังกล่าว ผู้ที่ใช้ยาเพนิซิลลินอย่างไร้จิตสำนึก คือผู้ที่ควรต้องรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ตายจากเชื้อดื้อยาเพนิซิลลิน ฉันหวังว่าเราจะหลีกเลี่ยงสิ่งเลวร้ายนี้ได้”[1]

 

 

สามารถดูวีดีโอเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “เพนิซิลลิน” ได้ที่

83 ปี กำเนิดยาเพนิซิลลิน (ผลิตโดย jubkrasae วันที่ 10/03/2554)

 

เอกสารอ้างอิง

1 Fleming, A. (1945, June 26). PENICILLIN'S FINDER ASSAYS ITS FUTURE; Sir Alexander Fleming Says Improved Dosage Method Is Needed to Extend Use Other Scientists Praised Self-Medication Decried. Retrieved from https://www.nytimes.com/1945/06/26/archives/penicillins-finder-assays-its-future-sir-alexander-fleming-says.html

คำที่เกี่ยวข้อง
ดาวน์โหลด

ดาวน์โหลดพจนานุกรมฉบับภาษาไทยได้ที่นี่